2553-09-11

แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)
การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
- การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
- การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
- การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน



รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค


ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
- ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
- รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
- การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
- ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)


ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน


การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)
เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน
การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ
การปศุสัตว์


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ


รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ



เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น


- คือการที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
- ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย



ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ เช่น
www.airasia.com

องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
World Tourism Organization : WTO
จุดมุ่งหมายเพื่อ
-เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
- เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
- เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)
โดยสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) มีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่ติดกับสวนจตุจักร ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) ก่อตั้งขึ้นในค.ศ.1960 ที่กรุงปารีส
องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”


องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน

World Travel and Tourism Council : WTCC สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงานหลัก 3 ด้าน ดังนี้
1.การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3. การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม


International Congress and Convention Association: ICCA สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ

สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน The Pacific Asia Travel Association :PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
ASEAN Tourism Association : ASEANTA
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน

เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ และความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว

3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง

American Society of Travel Agents:
ASTA สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา

เป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรวบรวมสมาชิกต่างๆทุกสาขาไว้ด้วยกัน
สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิก ASTA เมื่อปี พ.ศ.2509


สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ

กฎหมายสำคัญของไทย ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก

พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -บำรุงรักษาศิลปะ

2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ


3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ยกตัวอย่าง อาทิ
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว ยกตัวอย่าง เช่น
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
- ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
- ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
- ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
- ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
- ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
- ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
- ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses) ราคาที่ดินแพงขึ้น
- มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
- รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

- เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
- ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
- ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
- มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
- คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
- ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
- โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
- การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
- ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
- การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
- เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
- มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
- ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
- คุณค่าของงานศิลปะลดลง
- วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
- ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
- เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
- มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
- เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
- เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
- พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
- การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
- การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
- ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก Shopping and Souvenir Business

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว

ความเป็นมา

การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป

สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า


ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก

ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน

ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น


ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
1. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว
2.กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
3.ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
4.ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก

ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก

- เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
- เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
- เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
- เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
- เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
- เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
- เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
- เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย
- แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง
- แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ
- แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
1. ทางสังคมและวัฒนธรรม
สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และการรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น
2.ทางเศรษฐกิจ
สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
3.ทางระบบการท่องเที่ยว
ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business) หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
1. ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
- สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
2.ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
3.ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
- ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
- ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

วัดเล่งเน่ยยี่2 บางบัวทอง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์


วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ ตั้งอยู่ ตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก มีพื้นที่ 2 ไร่เศษที่ชาวบ้านบางบัวทองให้ความศรัทธามาเนิ่นนาน ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกาย มีปณิธานจะพัฒนาที่ส่วนนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะสร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเถลิงถวัลย์ ครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

ปัจจุบันวัดบรมราชากาญจนาภิเษกฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่โดยคณะสงฆ์จีนนิกายได้มอบหมายให้พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้างและพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย- จีนร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ทางวัดมังกรกมลาวาสได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกสมเด็จองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัด และพระราชทาน นามว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์” ซึ่งมี คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต อันนำมาซึ่งความปีติยินดีของชนชาวไทยเชื้อสายจีน และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์การสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ
1. เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
แสดงความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระมหาบูรพกษัตริย์ไทยที่คณะสงฆ์จีนนิกายได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
2. เพื่อตั้งเป็นพุทธสถานให้พุทธศาสนิกชน ได้ปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรม พร้อมทั้งเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจีนนิกาย
3. เพื่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ไทย-จีน เป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร และสร้างศาสนทายาทของพระพุทธศาสนาสืบไป
ภายในวัดมีการตกแต่งด้วยสภาปัตยกรรมที่สวยงาม เนื่องจากวัดเล่งเน่ยยี่2 เป็นวัดขก่าแก่ของจีน ซึ่งหากเดินทางไป ก็ไม่ผิดหวังแน่นอน
เพราะนอกจากจะได้ชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมแล้ว ยังได้ไหว้พระเจ้าแม่กวนอิม และทำบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย

ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดบรมราชาฯ
- สร้างแบบศิลปะจีนล้วนๆ เป็นพุทธศิลป์ในราชวงศ์หมิงชิง
- มีการวางผังตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน เรียกว่า ซี่เตี่ยมกิม
- การจัดวางวิหารถือตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลกบาลเป็นวิหารแรกพระอุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ส่วนวิหารอื่นๆ อยู่ประกอบสมดุลซ้ายขวา

โลโก้จำลองวัดเล่งเน่ยยี่ 2

ภายในวัด

การเดินทาง
จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำเภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร


จากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถเลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ วัดอยู่ถัดจากศูนย์เยาวชนเทศบาล



การท่องเที่ยวแบบนี้เป็นเชิงศาสนา....

2553-09-07

สามชุก ตลาดร้อยปี

เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์”
ประวัติ"ตลาดร้อยปีสามชุก"
เดิมทีเดียว "บริเวณปัจจุบัน" เรียกว่า ท่ายาง ซึ่งที่ตั้งอำเภอเก่าอยู่ที่ นางบวช

(ปัจจุบัน ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช)
- พ.ศ.2437 สมัยรัชกาลที่ 5 ชื่ออำเภอนางบวช โดยมีขุนพรมสภา นายอำเภอคนแรก
- พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 ย้ายอำเภอมาที่บ้าน สำเพ็ง สมัยนั้นเป็นย่านการค้าสำคัญ โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่า บ้านท่ายาง เป็นสถานที่ที่นำของป่ามาค้าขาย กันทุกทิศทุกทาง คล้ายเป็นทาง "สามแพร่ง" ต่อๆ มาเพี้ยนมาเป็น "สำเพ็ง"
- พ.ศ.2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอนางบวช มาเป็น"อำเภอสามชุก" เพราะเดิมชื่อ "สำเพ็ง" และเพี้ยนมาเป็น "สามชุก" ในที่สุด ก็เพราะว่า คนที่มาค้าขายระหว่างรอสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกัน มีเวลาว่างก็นำไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย ที่เรียกว่า "กระชุก" ต่อๆ มาชาวบ้านจึงเรียก "สามแพร่ง" ผสมกับ "กระชุก" จึงได้มาเป็น "สามชุก" อย่างทุกวันนี้


การเดินทาง
พวกเราเดินทางโดยรสตู้ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อไปถึงเราก็เริ่มตระเวนหาของกิน และถ่ายรูปเพื่อทำรายงาน ที่ตลาดมีของกินเยอะแยะมากมาย ส่วนมากจะเป็นขนมไทย ๆ ซึ่งหากินได้ยาก และเป็นของที่ระลึกซึ่งมีราคาถูก ส่วนของเล่นก็จะมีจำพวกของเก่าน่าสะสม ซึ่งหาซื้อยากในปัจจุบัน
ร้านแรกที่ไป เป็นร้านคุณไก่ ขายห่อหมกหม้อดิน รสชาติอร่อยมาก และมีขายที่ตลาดสามชุกที่เดียวเท่านั้น หากสนใจสามารถแวะไปชิมได้
ร้านที่สอง เป็นร้านน้ำพริกแม่กิมลั้ง หลายคนคงรู้จักเพราะมีชื่อเสียงมาก สินค้ามีคุณภาพ แถมราคาย่อมเยา
ร้านที่สามเป็นร้านขนมโบราณ แต่เจ้าของร้านนำมาแปลรูปด้วยการทำเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและดึงดูดให้เลือกซื้อ
เดินต่อมาเรื่อย ๆจะเป็นร้านขายของเล่นโบราณ ที่ทำขึ้นเอง เป็นของเล่นของเด็กสมัยก่อน ซึ่งหายากในสมัยนี้ ของเล่นจำพวกประทัด ซึ่งประดิษจากวัสดุธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณ และปลอดภัย100%
เดินต่อไปเรื่อย ๆ จะเป็นศาลเจ้าของชาวบ้านในละแวกนั้น
ยิ่งเดินต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะมีร้านขายของต่าง ๆมากมายให้เลือกซื้อ อาทิเช่น
ร้านขายขนมโบราณ ไม้แกะสลักเป็นรูปสัดว์ต่าง ๆ ตะเกียงโบราณ ราคาถูก ร้านบ้านโค้ก บริการทั้งส่งโปรการ์ด และขายของที่ระลึกร้านกาแฟอาม่า

ของที่ระลึก ก่อนกลับเราก็ไม่ลืมที่จะซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือไปฝากญาติ ๆ

เสื้อยืดสามชุก โปสการ์ด + บริการส่งทั่วประเทศ

กล่องไม้ขีด
ที่ติดรูป สัญลักษณ์สามชุก

แนะนำเส้นทางสู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก โทร. 0-3557-2449, 0-3550-4498 และ 0-1640-3327
สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ เป็นการเดินทางที่ได้ทั้งความรู้ที่เป็นของคนรุ่นก่อน และได้ชมของหายากซึ่งหาไม่ได้ตามท้องตลาดทั่วไป ถือว่าสนุกและคุ้มสุด ๆ พวกเราจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อน ๆทำคนไปเที่ยวตลาดสามชุก เพราะมีอะไรให้น่าค้นหามากมาย และที่สำคัญช่วยกันเที่ยวในประเทศเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น (:

2553-09-06

พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์"




พระราชวังสนามจันทร์ ในช่วงเช้า





พระตำหนักทับขวัญ




พระที่นั่งชาลีมงคลอาจ




อนุสาวรีย์ ย่าเหล



ถ่ายหน้าพระราชวังสนามจันทร์


แผนที่และการเดินทาง


1.รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 ถึง จ.นครปฐม แยกขวาเข้าพระราชวัง
2.โดยสารสาธารณะ - จากสายใต้ใหม่ นั่งรถปรับอากาศไปดำเนินสะดวกชั้น 2 (ป2) (สาย 78 รถน้ำเงินคาดส้ม) ซึ่งเป็นรถที่วิ่งผ่านพระราชวังสนามจันทร์ลงแยกสนามจันทร์ ค่ารถ 36 บาทครับ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง- อีกวิธีขึ้นรถตู้ไปทับแก้ว(ม.ศิลปากร สนามจันทร์)จากปิ่นเกล้า คิวรถตู้จอดอยู่ในซอยข้างศาลพระพรหมณ์ตรงใกล้์้เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เดินเข้าไปในซอย ข้ามสะพานข้ามคลอง มองไปด้านซ้ายมือจะมีคิวรถตู้ ค่ารถ 40 บาท บอกคนขับว่าลงแยกสนามจันทร์และจากแยกสนามจันทร์ก็ข้ามฝากไป ม.ศิลปากร เดินตรงเข้าถนนราชมรรคาใน สัก 200 เมตร ก็ถึงจุดขายตั๋วเข้าชม- ขากลับขึ้นรถดำเนินป.2(สาย78) ได้ที่แยกสนามจันทร์กลับเข้ากทมได้เลย(ไม่ต้องข้ามถนน) หรือเดินขึ้นไปอีกนิดไปทางด้านประตูใหญ่ ม.ศิลปากร คิวรถตู้ไปปิ่นเกล้าจอดอยู่ตรงก่อนถึงป้ายรถเมล์หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนั้นยังมีอีกคิวไปอนุสาวรีชัย-หมอชิด อยู่ฝั่งตรงข้าม มหาวิทยาลัย

2553-08-26

การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)

เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้หลักการตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย

2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ

3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น

4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน องค์กรการท่องเที่ยวต่างๆ หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service Operations)

การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ หรือการขอรับสิทธิในการดำเนินธุรกิจเพราะประสบความสำเร็จในระดับสูงอยู่แล้ว เนื่องจาก
-มีประเภทของอาหารไม่มาก ทำให้เกิดอำนาจในการต่อรองในการซื้อวัตถุดิบและมีการสูญเสียน้อย การควบคุมทำได้ทั่วถึง
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
-ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานสูง เพราะมีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
-ภาชนะใส่อาหารมักเป็นแบบใช้ครั้งเดียว ลดภาระเรื่องการล้างทำความสะอาด
-มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี
สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้
อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
-อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast) ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
-อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast) ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ


อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า

อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)


อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้

อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุด
ต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)


อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

อาหารไทย (Thai Food)

ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา

4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ติดทะเล อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน มีอาหารหลายประเภทที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”
อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี แต่มีผักพื้นบ้านต่างๆ อาทิ ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงสัตว์ประเภทวัว ควาย ดังนั้นจึงนิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้น อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ

2553-08-21

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม

สามารถแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants) เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะแก่สภาพสังคมที่รีบเร่งของบุคคลในเมือง ร้านอาหารประเภทนี้จะเปิดบริการเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวันและเปิดทุกวันต่อสัปดาห์ และไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่ลูกค้า โดยจะต้องมีการรักษามาตราฐานราคาและคุณภาพ
2.ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shop) เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ปัจจุบันร้านอาหารประเภทที่นิยมมาก มักตั้งอยู่ที่ทำเลคนหนาแน่น
3.ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets) เป็นธุรกิจแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโยตรง ตั้งราคาเดียวแต่ไม่สูงมาก
4.ธุรกิจคอฟฟี่ช้อพ (Coffee shop) เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนมาใช้บริการโดยใช้เวลาน้อย ส่วนใหญ่บริการที่เคาน์เตอร์บริการ
5.ธูรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias) เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง รายการอาหารค่อนข้างจำกัดกว่า ภัตราคาร ควรตั้งอยู่ที่ทำเลที่มีคนจำนวนเดินผ่าน เช่นศูนย์การค้า ย่านสำนักงาน
6.ธุรกิจอาหารกรูเมต์ (Gourmet Restaurants) เป็นธุรกิจที่เน้นบริการระดับสูง ทั้งคุณภาพอาหาร การให้บริการของพนักงาน และการตกแต่งสถานที่อย่างหรูหรา
7.ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurabts) เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารและเเครื่องดิ่มประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ มักจัดอยู่ในกลุ่มของครอบครัว

ตัวแทนการจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจต้าปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนการขายสินค้าการท่องเที่ยวและช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

บทบาทหน้าที่ของเเทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2.ทำการจอง
3.รับชำระเงิน
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกคเนการวื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประเภทของของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่ทีมาแต่เดิม (A Conventional Agency) ประเภทนี้มักขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวหลากหลายและเต็มรูปแบบ สามารถแบ่งได้ดังนี้
- แทรเวล เอเจนซี่ที่ป็นเครือข่าย มีเครือข่ายขนาดใหย่ และมสาขามากกว่า 100สาขา
-แทรเวล เอเจนซี่แบบแฟรนไชส์ เป็นของบุคคลหรือครอบครัว แต่เข้าร่วมเครื่อข่ายแม่ที่มีชื่อเสียง โดยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทแม่เป็นรายปี
-แทรเวล เอเจนซี่อาจเกี่ยวข่องในลักษณะของ คอนซอเดียม คือ กลุ่มที่มีวัตถุปรสงค์ที่พัฒนากิจกรรมการตลาดและระบบอื่นๆ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยไม่ใช้ชื่อบริษัทแม่
-แทรเวล เอเจนซี่แบบอิสระ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทใด มักเป็นกิการของบุคคลหรือครอบครัว
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประกอบธุรกิจผ่านอินเตอร์เนต จุดเด่น คือ สามารถขยายไปทั่วโลก ไม่จำจักกลุ่ม
3.แบบชำนาญเฉพาะทาง (Spacialized Agencies) เป็นส่วนหนึ่งของของคอนเซเดียม พบว่าอาจทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น ตลาดนักธุรกิจ
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก (Home-Based Agencies) สามารถทำได้ผ่านอินเตอร์เนต
-บริษัททัวร์ (Tour Operator) หมายถึง รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า(และการชำระเงินล่วงหน้า) ซึ่งจะท่องเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งหรือมากกว่า

ประเภทของทัวร์
1.ทัวร์แบบอิสระ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการเดินทางอย่างอิสระ และเสียค่าใช้ตายที่ต่ำกว่าการจองผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวโดยตรง
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์เหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง

แผนกงานในโรงแรม

-แผนกส่วนหน้า (front office) เป็นศูนย์กลางติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก รับจองห้อง ต้อนรับ ลงทะเบียน ขนย้ายสัมภาระ และชำระค่าใช้จ่าย
-แผนกส่วนบ้าน (housekeeping) รับผิดชอบการจัดเตรียมห้อมพักแขก
-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม (food & beverage) รับผิดชอบกระบวนการผลิต/ประกอบ/ปรุงอาหาร และบริการเครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงการจัดเลี้ยง
-แผนกขายและการตลาด (sales & marketing) รับผิดชอบการวางแผนการตลาด และควบคุมการใช้กลุยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ธุรกิจ
-แผนการบัญชีและการเงิน (accounting) ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
-แผนกทรัพยากรณ์มนุษย์ (human resources) ในบางกิจการขนาดเล็กจะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก
-single ห้องพักสำหรับคนเดียว
-Twin ห้องพักเตียงคู่เเฝด
-Double ห้องพักเตียงคู่เตียงเดียวขนาดใหญ่ ให้บริการเเก่ผู้มาเยือนให้สบายยิ่งขึ้น
-Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้อง 2 ห้อง ขึ้นไป แบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น

2553-08-20

ที่พักแรม

ที่พักแรมมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถเดินทางกลับได้ในวันเดียว
โรงแรม : เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
กิจการโฮเต็ลที่สำคัญในอดีต ได้แก่
-โอเรียลเต็ล (Oriental Hotel) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันจัดเป็นโรงแรมมาตราฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

-โฮเต็ลพยาไท เป็นโรงแรมหรูหราในรัชกาลที่7 เป็นที่รับรองแขกเมืองชาวต่างชาติ ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมให้งดงาม ขึ้นเป็นทะเบียนโบราณสถานที่สำคัญ
-โฮเต็ลหัวหิน หรือ รงแรมรถไฟหัวหิน ในสมัยรัชกาลที่ 6 จัดเป็นโรงแรมตากอากาศชายทะเล
-โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 8

การใช้คำว่าโรงแรม เรียกกิจกรรมที่พักคนเดินทางแทนคำว่า โฮเต็ล มีครั้งแรกในพ.ศ. 5478 พร้อมกับออกพระราชบัญญัติโรงแรมฉบับแรกขึ้น

ประเภทที่พัก
1. โรงแรม หมายถึง สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถึประสงคืในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วตราวสำหรับนักเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
เกณฑ์การจำแนกโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง ทำเลที่ตั้งกิจกรรมมีผลต่อวิธีการเดินทางเข้าถึงและถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ
-ด้านขนาด โดยพิจารณาถึงจำนวนห้องพัก
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก โดยพิจารณาจากจุดประสงค์ผู้มาพัก อันจะส่งผลต่อกิจกรรมนันทนาการ
-ด้านราคา พิจารณาจากราคาห้องพักโดยเปรียบเทียบกิจการเฉลี่ยของกิจกรรมภายในพื้นที่/ประเทศ
-ด้านระดับการท่องเที่ยว พิจารณาจากความครบครันในการบริการ ความหรูหราในการบริการ
ความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
-โรงแรมอิสระ เป็นดรงแรมที่เจ้าของดำเนินกิจการเอง ตามนโยบายยบายที่กำหนดอิสระ กิจการส่วนใหญ่มีขนาดเล็ดและขนดกลาง
-โรงแรมจัดแบบกลุ่ม/ เครือ หรือ เชน หมายถึงโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารการจัดการแบบกลุ่ม มักใช้ชื่อประกอบที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน โดยมีสำนักงานกลางควบคุมนโยบาย

2. ที่พักนักท่องเที่ยว
-ที่พักเยาวชน หรือ โฮเต็ล เป็นที่พักราคาประหยัดมักสงเสริมเยาวชนให้รู้จักการเดินท่องเที่ยว
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด ได้แก่ บีเเอนด์บี เพเนชั่น ส่วนใหญ่เป็นบ้านแบ่งให้เช่าพักในต่างประเทศ
-ที่พักริมทางหลวง ได้แก่ โมต็ล เป็นที่พักขนาดเล็ก
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก หรือไทม์แชริ่ง ที่พักบริการคล้ายโรงแรม อยู่ในกลุ่มที่พักตากอากาศ
-เกสต์เฮาส์ ที่พักราคาประหยัด ดัดแปลงมาจากบ้านเดิม
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพารต์เมนต์ บริการสำหรับห้องชุดระยะยาว
-ที่พักกลางแจ้ง เป็นที่พักที่ประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก
-โฮมสเตย์ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท

การขนส่งคมนาคม (Tranporations)

คือ กระบวนการการเคลื่อนย้ายของคน สัตว์ สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปที่หนึ่งโดยอาสัยสื่อกลางต่างๆภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้

เส้นทาง(Way) ปัจจัยพื้นฐานรองรับพานหนะในการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งแบ่งเป็น ทางธรรมชาติเกิดขึ้นเอง ทางธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุง ทางที่มนุษย์สร้างเอง

สถานี (Termainal) สถานที่ให้บริการด้านพาหนะต่างๆตามความต้องการเฉพาะด้าน

ประเภทของการคมนาคม
-ทางบก ระยะแรกใช้แรงงานคน ต่อมาใช้สัตว์ลากรถ 2 ล้อต่อมาพัฒนาเป็นรถลาก4 ล้อใช้ม้าลากพร้อมๆกับการพัฒนาเส้นทาง จนกระทั่งในปีค.ศ.1480 มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสารในประเทศอังกฤษ
มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำในการขนส่ง ครั้งแรกในประเทสอังกฤษค.ศ.1825
ประดิษย์รถยนต์ในค.ศ.1920
..การขนส่งทางบกในประเทศไทย มีเกวียนเป็นอุปกรณ์ขนส่ง..

-ทางน้ำ ถือว่าเก่าแก่ที่สุด
เริ่มจากแพ เรือขุด เรือหนังสัตว์ สำเภาที่อยู่อาศัย และมีเครื่องจักรไอน้ำมีขนส่งแรกในประเทสอังกฤษ
ค.ศ.1815 บริการเรือสำราญ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมนประเทศอิตาลี
ค.ศ.1819 มีเรือกลไฟ Savanah แล่นในมหาสมุทรเป็นครั้งแรกค.ศ.1900 มีเรือสำราญสมบูรณ์แบบ ชื่อ Princess Victory Louis หลังสงครามโลกครั้งที่1 เศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจเรือสำราญกระทบกระเทือนมากในเอเชีย
..ในประเทศไทยใช้เรือเล็กส่งสินค้าในระยะใกล้ๆ และพัฒนาเป็นเรือสำเภาแบบจีนและยุโรป..

-ทางอากาศ
ประดิษฐ์เครื่องบินครั้งแรก ค.ศ.1903 โดยพี่น้องตระกูล Wright ในสงครามโลกครั้งที่2 เกิดธุรกิจการบินครั้งแรก

2553-07-24

ทรัพยากรการท่องเที่ยว (Tourism Resources)

หมายถึง สิ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปแบบนามธรรมและรูปธรรม มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนและประกอบกิจกรรมนัมนทนาการอันนำมาซึ่งความพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ

จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นสถานที่เฉพาะหรือสถานที่ทั่วไปหรือหลายๆสถานที่ที่ก่อให้เกิดการเดินทาง

สิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมหรือประกอบกิจกรรมให้ความพึงพอใจ

สรุปนิยามของแหล่งท่องเที่ยว แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ขอบเขต
- จุดมุ่งหมายหลัก คือสภาพที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวต้องมุ่งไปเยือน และอยู่เป็นช่วงเวลาหนึ่ง
- จุดหมายรอง คือสถานที่แวะพัก
2. ความเป็นเจ้าของ
-การจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นตามความเป็นเจ้าของ
-เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล,องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเอกชน
-อุทยานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ดำเนินงานโดยรัฐบาล
วังสวนผักกาดอยู่ในการควบคุมและดูแลโดยองค์กรไม่หวังผลกำไร
-ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ไนทืคลับ สวนสัตว์บางแห่งดำเนินงานโดยเอกชน
3. ความคงทนถาวร
-ประเภทที่เป็นสถานที่ มีความคงทนถาวรกว่าเป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ
-งานเทสกาลที่มีช่วงเวลาดำเนินการ
-แหล่งท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดตอบสนองจุดประสงค์ของนักท่องท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นแหล่งทรัพยากรธรรม

2553-07-16

โปรแกรมทัวร์

ทัวร์ป่าหินงาม - ชมดอกกระเจียว - ฟาร์มโชคชัย
รายละเอียด : ทุ่งดอกกระเจียว..พาเพลิน ขอนำท่านเดินทางสู่ จ. ชัยภูมิ ณ เทือกเขาพังเหย
เดินทาง ทุกสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์)
ราคา : 3900 บาท
.....ชมดอกไม้ป่าที่มีความสวยงามในนามของ ดอกกระเจียว หรือ ดอกบัวสวรรค์ ทีจะออกดอกในช่วงฤดูฝน เป็นสีชมพูอมม่วงบานสะพรั่งตัดกับท้องทุ่งหญ้าสีเขียวเป็นที่สวยงาม ตื่นตากับจุดชมวิวสุดแผ่นดิน ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาเป็นแนวหน้าผารอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นจุดที่มีทัศนียภาพอันงดงามของทิวเขา มหัศจรรย์กับอุทยานฯป่าหินงามกับรูปหินรูปร่างสวยงามแปลกตา .....ชม “ฟาร์มโชคชัย” โดยการบริการของมัคคุเทศก์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและสต๊าฟทีมงานที่ชำนาญพื้นที่.....

รายละเอียดโปรแกรมทัวร์
..วันแรก..
กรุงเทพฯ – ดอกกระเจียว – อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม – เขาใหญ่ – Palio Villa Market
07.00น. พร้อมกัน ณ ปั้ม ปตท.วิภาวดีรังสิต เจ้าหน้าที่จะรอให้การต้อนรับท่าน
08.00น. นำท่านออกเดินทางโดยรถตู้ปรับอากาศ...บริการเช้ากล่อง(บริการมื้อ1) เครื่องดื่ม....พักผ่อนอย่างสบายบนรถชมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง
10.00น. เดินทางถึง อ.เทพสถิตย์....บริการอาหารกลางวัน(บริการมื้อ 2) แบบพื้นเมือง.....เติมพลังเรียบร้อยแล้วเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาพังเหยโดยรถสองแถวของอุทยานฯ ผ่านต้นไม้สูงชันเพลินตากับทิวทัศน์สองข้างทางและทางขึ้นเขาลาดยางที่แสนสะดวก....ถึงยอดเขาพังเหยนำท่านชม สุดแผ่นดินเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งเป็นแนวหน้าผาซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานที่จุดชมวิวสุดแผ่นดินนี้จะมองเห็นทิวสันเขาสลับซับซ้อนและมีสายลมพัดเย็นตลอดเวลา....เก็บภาพสวยงาม จากนั้นเชิญท่านออกกำลังกายเดินเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อชมทุ่งดอกกระเจียวบานสะพรั่งอยู่เต็มผืนหญ้าสีเขียวเป็นที่สวยงามยิ่งนัก เชิญท่านเก็บภาพตามอัธยาศัย ....จากนั้นนำท่านพบความงามแบบมหัศจรรย์ ณ อุทยานฯป่าหินงาม ภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อนและมีโขดหินใหญ่รูปร่างแปลกตา สวยงามเช่น หินรูปจานเรดาห์,ถ้วยฟุตบอลโลก,รูปนก,รูปตะปู ฯลฯ......นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกันยังมีพวกดอกไม้ป่าเช่นดุสิตา เอนอ้าและกล้วยไม้ ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก....เก็บภาพเป็นที่ระลึกจาก...สมควรแก่เวลานำท่านลงจากเขาพังเหยมายังจุดจอดรถ เชิญท่านซื้อของฝากจากภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านรวมตัวนำมาขายให้ท่านได้เลือกซื้ออย่างจุใจ
15.00น. จากนั้นนำท่านเดินทางเข้าสู่ อ. ปากช่อง นำท่านเข้าที่พัก“วิลล่าพาราดีส์ รีสอร์ท” (หรือเทียบเท่า)...ภารกิจส่วนตัว
16.00น. นำทุกท่านออกจากที่พักเที่ยว ชม Viila Market แห่งใหม่บริเวณเขาใหญ่ “Palio Khao Yai” ...มีสินค้าให้ทุกท่านได้เลือกซื้อเลือกชม...รวมทั้งยังมีมุมสวยๆๆให้เก็บภาพเป็นที่ระลึกอีกมากมาย...
17.00 น. บริการอาหารเย็น (บริการมื้อที่ 3) ณ ห้องอาหารของที่พัก ...หลังอาหารพักผ่อนตามอัธยาศัย ท่ามกลางบรรยากาศในอ้อมกอดของธรรมชาติ
...วันที่สอง...
เขาใหญ่ – ฟาร์มโชคชัย – วัดพระพุทธฉาย – กรุงเทพฯ
07.00น. บริการอาหารเช้า (บริการมื้อที่ 4) ...เรียบร้อยแล้วเก็บสัมภาระอำลาที่พัก นำท่านเดินทางสู่ “ฟาร์มโชคชัย”เชิญท่านชมวิธีการเลี้ยงโคนม การจัดการฟาร์มในพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 200 ไร่การผสมเทียมโคนม, การรีดนมวัวด้วยเครื่องและด้วยมือแบบดั้งเดิมพร้อมกับการเรียนรู้การรีดนมโคด้วยมือคุณเอง, นั่งรถฟาร์มแทร็กเตอร์ ชมการปลูกอาหารสัตว์การอาหาร หมัก, ทุ่งทานตะวัน ฯลฯ...
12.00น. บริการอาหารกลางวัน (บริการมื้อที่ 5) “ร้านข้าวสามสี” เรียบร้อยแล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ แวะซื้อกะหรี่พัฟ, หมูทุบ, ผลไม้ เป็นของฝากคนทางบ้านจากนั้นเดินทางต่อ นำทุกท่านนมัสการพระพุทธฉาย...เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนเดินกลับ
18.00น. ชาวคณะเดินทางถึงกรุงเทพฯโดยสวัสดิภาพ......


ราคาค่าบริการ รวมค่ารถตู้ปรับอากาศ Commuter 9 ที่นั่ง มีอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกครบครัน ค่าอาหารระหว่างเดินทาง 5 มื้อ ที่พัก วิลล่าพาราดีส์ 1 คืน (ห้องStandard )
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ของว่างระหว่างเดินทางบนรถ อัตราค่าบริการนี้ไม่รวม ค่าทิปพนักงานบริการ เช่น หัวหน้าทัวร์, มัคคุเทศก์, พนักงานขับรถ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักผ้า รีดผ้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มสั่งพิเศษ ค่าอาหารที่นอกเหนือจากทางบริษัทจัดให้

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

หมายถึง องค์ประกอบพื้นที่รองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบถือเป็นการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถไปด้วยดี และทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐานหลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
1. ระบบไฟฟ้า เพียงพอทั่วถึงและใช้การได้ดี
- ในการเกิดกรณีที่เกิดความต้องการใช้ปริมาณมากต้องเตรียมอุปกรณ์ปั่นไฟให้พอ
- ควรมีกำหนดเวลาเปิด-ปิดเพื่อประหยัดพลังงาน
- วางแผนใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2. ระบบประปา
- สะอาด ถูกหลักอนามัย
- มีปริมาณเพียงพอ
- มีการกระจายอย่างทั่วถึง เพื่อให้บริการความต้องการใช้น้ำที่แตกต่าง
- รีสอร์ทต้องใช้น้ำสำหรับใช้ 350 - 400 แกลอนต่อห้องต่อวัน
-สนามกอล์ฟ 6 แสน - 1 ล้านแกลอนต่อวัน
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
--> โทรศัพท์มีสาย/ไร้สาย ,โทรสาร, โทรเลข, ไปรษณีย์ และไปรษณีย์อิเลกโทรนิกส์
4. ระบบขนส่ง
ระบบเดินทางอากาศ บก และทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข
- ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย
- มีหน่วยรักษาพยาบาลเบื้องต้น
-แหล่งท่องเที่ยวเชิงพจญภัย เตรียมยาหรือรักษาอาการเจ็บรองรับ

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่ละภูมิภาค
-การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง
-มนุษย์มักต้องการเดินทางไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
-ส่งผลให้เกิดการเดินทางการท่องเที่ยวไปยังบริเวณจ่างบนผิวโลก
-ปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและพลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทาง

...ปัจจัย...
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ และสำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่ดึงดูดใจ
ลักษณะภูมิประเทศในส่วนต่างๆของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลักษณะภูมิอากาศ จะแตกต่างกันไปเพราะภูมิประเทศแตกต่างกัน
2. ปัจจัยวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่จนเครื่องแต่งกาย วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา

ตัวอย่างการวิจัย

ที่ใช้วิธีการศึกษาเป้าหมาย
นักเดินทางประเภท Backpacker กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในออสเตรเลีย แรงจูงใจ คือ
1. การหลีกหนี (Escape)
- สะท้อนแนวโน้มทางสังคมวิทยา
- หนุ่มสาวจากตะวันตกที่มีการศึกษาดีมักเลือกการตัดสินใจที่สำคัญในชีวิตชั่วคราว

2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
- นักท่องเที่ยวประเภทนี้มักเลือกที่พักศูนย์เยาวชน (Youth nostel) เป็นหลัก
- องค์การเยาวชนออสเตรเลียปรับปรุงภาพลักษณ์เพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

3. การทำงาน (Employment) ทำงานระหว่างเรียน (working holiday) และพัฒนาทักษะการทำงาน

4. เน้นการคบหาสมาคม (Social focus) นักแบกเป้ที่ชอบคบหาผู้คน ต้องการรู้จักเพื่อนและทำความรู้จักคนในท้องถิ่น
- แสดงว่าพวก backpacker ไม่ใช่พวกท่องเที่ยวแบบพเนจร

แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

โดย Pearce,Morrison และRutledge (ค.ศ.1998)
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มรดกโลก เป็นิ่งแวดล้อมสีน้ำเงิน (ทะเล) และสิ่งแวดล้อมสีเขียว (ป่า เขา น้ำตก)

2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น ความต้องการพบปะคนในท้องถิ่น อย่างใกล้ชิดมีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะนักเดินทางวัยหนุ่มสาว นักเดินทางประเภทสะพายเป้ (backpacker)

3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นแลประเทศเจ้าบ้าน การได้เห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเดินทางชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีนและชาวเกาหลี ซึ่งเมื่อก่อนไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับวัฒนธรรมต่างชาติ

4. แรงจูงใจที่จะส่งเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว การท่องเที่ยวบางรูปแบบสามารถเห็นได้ว่าช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว อาทิ แหล่งท่องเที่ยว theme park และที่พักประเภทรีสอร์ทสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นครอบครัว

5. แรงจูงใจที่ได้จากการพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย ชายทะเลที่มีหาดทรายกับแสงแดด การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การไปชมปะการังหรือเดินป่าดูนก เป็นต้น

6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ นักท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษกำลังมีมากขึ้น เช่น เดินทางไปเรียนภาษา ทำอาหาร ดำน้ำ ตกปลา ตีกอล์ฟ เป็นการท่องเที่ยวที่เพิ่มพูนทักษะ

7. แรงจูงใจที่มีสุขภาพดี การบำบัดในศูนย์สปาต่างๆ การเข้าคอร์สลดน้ำหนัก

8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย โรค ผู้ร้าย การก่อการร้ายนักท่องเที่ยวและ
ไม่ไปประเทศที่ไม่มีความสงบทางการเมือง

9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม ความสนใจในสถานภาพสังคมเป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งของแรงจูงใจมนุษย์ ประสบการณ์การท่องเที่ยวทางการท่องเที่ยวสามารถสร้างภาพพจน์ให้กับบุคคลได้

10. แรงจูงใจที่จะได้รัยรางวัลแก่ตนเอง การกิน การดื่ม การซื้อของเพื่อฉลองความสำเร็จหรือเพียงชดเชยกับสิ่งที่ขาดไปในโลกที่มีแต่งานและข้อจำกัดต่างๆ

2553-07-10

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546)

งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548
(พ.ศ.2091)

ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ
- แรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคคลิกของบุคคล
- แรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว/นักท่องท่องเที่ยวเป็นแนวคิดผสมระหว่างแนวคิดจิตวิทยา(Phychology) ผสมกับแนวคิดสังคมวิทยา(Sociology)

ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฎ๊ลำดับขั้นแห่งต้องการความจำเป็น (Hierrchy of need ของ Abrahalm Maslow)
- มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ
- มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็น
- ความต้องการไม่มีวันสิ้นสุด
- เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งถูกตอบสนองแล้ว จะมีกอีกอย่างหนึ่งแทนที่

ความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องความภาคภูมิใจ (Self - esteen)
- ความต้องการด้านอัตตา (Ggo needs)
- ต้องการคววามยอมรับจากสังคม

Lundbreg (Lundbrey,Tourism Businees ,pl27) เชื่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุด
- ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
- ต้องพัฒนาบุคคลิก
- กระทำสิ่งที่ท้าทาย สิ่งแปลกใหม่จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- ต้องการพบเห็นสิ่งแปลกใหม่ สถานที่ใหม่

การท่องเที่ยวสามารถตอบสนองความต้องการในระดับสูงสุดได้สำหรับคน
- การเล่น Jet boat การล่องแก่ง เดินทางทั้งประเทศ
- เล่นบันจี้จำ ฯลฯ

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)
Philip Peace ประยุกต์จากของ Maslow
- ต้องการความลึกซึ้ง ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
- ความต้องการในขั้นสรีวิทยาจะได้รับต้องการสนองความต้องการในระดับสูงถึงจะเกิด

3.แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton คล้ายกับของMaslow
- หลีกหนีสภาพแวดล้อมจำเจ
- สำรวจและประเมินตนเอง
- พักผ่อน
- ความต้องการเกีรติภูมิ
- ถอยกลับสู่สภาพดั้งเดิม
- หาญาติ

Swarbrooke
1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physcial)
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง(Emotional)
4. การท่องเที่ยวได้มาถึงสถานภาพ
5. แรงจูงใจพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล

วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสระเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น

สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า

ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา
มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศส ของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่2 ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ
- สมัยรัชกาลที่3 บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
- สมัยรัชกาลที่4 ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง
- สมัยรัชกาลที่5 ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
- สมัยรัชกาลที่6 มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- สมัยรัชกาลที่7 เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่8-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย

...รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522...

2553-06-29

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ Renaissance

ลักษณะการท่องเที่ยวของยุคนี้ คือ
- การพัฒนาทางด้านการค้า (พาณิชยกรรม)
- ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของความรุ่งโรจน์สมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวยนิยมสั่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว โดยมีจุดมุ่งหมายที่อิตาลี

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางและยุคฟื้นฟู
1. Colosseum

2. Stone henge
3. The Catacombs of Komel Shogafa
4. The hagia Sophia
5. The Porcelain Tower of Nanjing
6. The Leaving tower of Pisa
7. The Great wall of Chaina


Colosseum
The hagia Sophia

สมัยศตวรรษที่ 18-19
- สมัยที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรม มาเป็นอุตสาหกรรมและเกิการล่าอาณานิคมมากขึ้น
- ที่พักแรมได้พัฒนามาตามลำดับ กลายเป็นโรงแรมแทนที่ INNS ต่างๆ
- การโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ๆนอกยุโรป อาทิ อเมริกา
- มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรกับเรือกลไฟแบบกังหันผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางเร็วขึ้น
- มีการพัฒนากิจการรถไฟ และปีค.ศ. 1481 โทมัส คุก จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรกของอังกฤษ ในขณะที่เอลรี่ เวลล์ ก็จัดนำเที่ยวในอเมริกาเช่นกัน

สมัยศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องสะดวกสบายยิ่งขึ้น
- ผู้คนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้นทำให้การเดินทางรถไฟน้อยลง
- การพัฒนาของอุตสาหกรรมการบินที่เริ่มขึ้นในยุโรปปีค.ศ.1919 และเริ่มขนผู้โดยสารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
- ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 เริ่มมีผู้ออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ อาทิ
1. The Empire state Building
2. The Golden Gate Building
3. The Versailles Palace
4. Hoover Dam
5. Taj Mahal
6.Queen Marry

2553-06-23

วิวัฒนาการการท่องเที่ยว

อาณาจักรบาบิโลน (Babylonian Kingdom) และอาณาจักรอียิปต์ (Egyptian Kingdom)
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ (Historic Antiguoties) 2600 ปีมาแล้ว ในอาณาจักรบาบิโลนมีการจัดเทศกาลทางด้านศาสนา มีพบหลักฐานและข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนังหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
จักรวรรดิกรีกและโรมัน ลักษณะการเดินเพื่อการท่องเที่ยว สมัยกรีกปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มมีผู้นำสั่งการเดินทางทางเรือ
- สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิ่งสถิตเทพเจ้า

- เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกมีนักปราชญ์มาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต้,โซเครติส

...เมื่อมีการเดินทางทำให้เกิดการสร้างที่พักแรมระหว่างทางเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพียงห้องนอนแคบๆเท่านั้น...
สมัยโรมัน ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรและได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
- สมัยโรมัน เป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณจนมีนักวิชาการปัจจุบันกล่าวว่า "แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆเพื่อความเพลิดเพลินก็ตามแต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งเเรก (Mass Tourism)
ยุคกลาง หรือยุคมืด (Middle Age or Dark Age) ประมาณ ค.ศ.500 - 1500

- เป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน

- วันหยุด (Holiday) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยคนชนชั้นกลางและคนชนชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงหาบุญในระยะทางไกลในเมืองต่างๆตามหลักฐานที่ปรากฎเป็นนิทานเรื่อง Can terbury's tales เเละมีการเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์ G.6/3 - Date 9 June 08

2553-06-21

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการ
การท่องเที่ยว Turism พ.ศ.2506 มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการตามข้อตกลกการประชุมองค์กรสหประชาชาติ คือ
1. การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. การเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหารายได้

จากนิยามการท่องเที่ยว ให้เรียกผู้เดินทางเป็นผู้มาเยือน จำแนกเป็น
1. นักท่องเที่ยว คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว ค้างคืนไม่เกิน 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี
2. เส้นทางของนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะทัศนาจร คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว พักสถานที่นั้นๆน้อยกว่า 24 ชั่วโมงและไม่พักค้าง

วัตถุประสงค์การท่องเที่ยว
คือ มนุษย์เดินทางเพื่อความต้องและมีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แบ่งเป็นหลักใหญ่ดังนี้
1. การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน (Holiday)
เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดที่จำกัด
2. การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business)
เป็นการท่องเที่ยวในการประชุม สัมมนา และจัดนิทรรศการนานาชาติ เป็นต้น
3. การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism)
เป็นการตอบสนองความต้องการเป็นพิเศษ เพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น

ลักษณะการจัด
1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ

รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -> สำรวจศึกษาประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา -> เพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ
การท่องเที่ยวเชิงเพื่อการศึกษา -> การจัดการเรียนรู้โดยมีการวางแผนล่วงหน้าและเน้นประสบการณ์จริง
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ -> การศึกษาเผ่าพันธุ์