2553-07-24

ทรัพยากรการท่องเที่ยว (Tourism Resources)

หมายถึง สิ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปแบบนามธรรมและรูปธรรม มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนและประกอบกิจกรรมนัมนทนาการอันนำมาซึ่งความพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ

จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นสถานที่เฉพาะหรือสถานที่ทั่วไปหรือหลายๆสถานที่ที่ก่อให้เกิดการเดินทาง

สิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมหรือประกอบกิจกรรมให้ความพึงพอใจ

สรุปนิยามของแหล่งท่องเที่ยว แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ขอบเขต
- จุดมุ่งหมายหลัก คือสภาพที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวต้องมุ่งไปเยือน และอยู่เป็นช่วงเวลาหนึ่ง
- จุดหมายรอง คือสถานที่แวะพัก
2. ความเป็นเจ้าของ
-การจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นตามความเป็นเจ้าของ
-เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล,องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเอกชน
-อุทยานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ดำเนินงานโดยรัฐบาล
วังสวนผักกาดอยู่ในการควบคุมและดูแลโดยองค์กรไม่หวังผลกำไร
-ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ไนทืคลับ สวนสัตว์บางแห่งดำเนินงานโดยเอกชน
3. ความคงทนถาวร
-ประเภทที่เป็นสถานที่ มีความคงทนถาวรกว่าเป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ
-งานเทสกาลที่มีช่วงเวลาดำเนินการ
-แหล่งท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดตอบสนองจุดประสงค์ของนักท่องท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นแหล่งทรัพยากรธรรม

2553-07-16

โปรแกรมทัวร์

ทัวร์ป่าหินงาม - ชมดอกกระเจียว - ฟาร์มโชคชัย
รายละเอียด : ทุ่งดอกกระเจียว..พาเพลิน ขอนำท่านเดินทางสู่ จ. ชัยภูมิ ณ เทือกเขาพังเหย
เดินทาง ทุกสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์)
ราคา : 3900 บาท
.....ชมดอกไม้ป่าที่มีความสวยงามในนามของ ดอกกระเจียว หรือ ดอกบัวสวรรค์ ทีจะออกดอกในช่วงฤดูฝน เป็นสีชมพูอมม่วงบานสะพรั่งตัดกับท้องทุ่งหญ้าสีเขียวเป็นที่สวยงาม ตื่นตากับจุดชมวิวสุดแผ่นดิน ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาเป็นแนวหน้าผารอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นจุดที่มีทัศนียภาพอันงดงามของทิวเขา มหัศจรรย์กับอุทยานฯป่าหินงามกับรูปหินรูปร่างสวยงามแปลกตา .....ชม “ฟาร์มโชคชัย” โดยการบริการของมัคคุเทศก์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและสต๊าฟทีมงานที่ชำนาญพื้นที่.....

รายละเอียดโปรแกรมทัวร์
..วันแรก..
กรุงเทพฯ – ดอกกระเจียว – อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม – เขาใหญ่ – Palio Villa Market
07.00น. พร้อมกัน ณ ปั้ม ปตท.วิภาวดีรังสิต เจ้าหน้าที่จะรอให้การต้อนรับท่าน
08.00น. นำท่านออกเดินทางโดยรถตู้ปรับอากาศ...บริการเช้ากล่อง(บริการมื้อ1) เครื่องดื่ม....พักผ่อนอย่างสบายบนรถชมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง
10.00น. เดินทางถึง อ.เทพสถิตย์....บริการอาหารกลางวัน(บริการมื้อ 2) แบบพื้นเมือง.....เติมพลังเรียบร้อยแล้วเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาพังเหยโดยรถสองแถวของอุทยานฯ ผ่านต้นไม้สูงชันเพลินตากับทิวทัศน์สองข้างทางและทางขึ้นเขาลาดยางที่แสนสะดวก....ถึงยอดเขาพังเหยนำท่านชม สุดแผ่นดินเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งเป็นแนวหน้าผาซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานที่จุดชมวิวสุดแผ่นดินนี้จะมองเห็นทิวสันเขาสลับซับซ้อนและมีสายลมพัดเย็นตลอดเวลา....เก็บภาพสวยงาม จากนั้นเชิญท่านออกกำลังกายเดินเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อชมทุ่งดอกกระเจียวบานสะพรั่งอยู่เต็มผืนหญ้าสีเขียวเป็นที่สวยงามยิ่งนัก เชิญท่านเก็บภาพตามอัธยาศัย ....จากนั้นนำท่านพบความงามแบบมหัศจรรย์ ณ อุทยานฯป่าหินงาม ภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อนและมีโขดหินใหญ่รูปร่างแปลกตา สวยงามเช่น หินรูปจานเรดาห์,ถ้วยฟุตบอลโลก,รูปนก,รูปตะปู ฯลฯ......นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกันยังมีพวกดอกไม้ป่าเช่นดุสิตา เอนอ้าและกล้วยไม้ ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก....เก็บภาพเป็นที่ระลึกจาก...สมควรแก่เวลานำท่านลงจากเขาพังเหยมายังจุดจอดรถ เชิญท่านซื้อของฝากจากภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านรวมตัวนำมาขายให้ท่านได้เลือกซื้ออย่างจุใจ
15.00น. จากนั้นนำท่านเดินทางเข้าสู่ อ. ปากช่อง นำท่านเข้าที่พัก“วิลล่าพาราดีส์ รีสอร์ท” (หรือเทียบเท่า)...ภารกิจส่วนตัว
16.00น. นำทุกท่านออกจากที่พักเที่ยว ชม Viila Market แห่งใหม่บริเวณเขาใหญ่ “Palio Khao Yai” ...มีสินค้าให้ทุกท่านได้เลือกซื้อเลือกชม...รวมทั้งยังมีมุมสวยๆๆให้เก็บภาพเป็นที่ระลึกอีกมากมาย...
17.00 น. บริการอาหารเย็น (บริการมื้อที่ 3) ณ ห้องอาหารของที่พัก ...หลังอาหารพักผ่อนตามอัธยาศัย ท่ามกลางบรรยากาศในอ้อมกอดของธรรมชาติ
...วันที่สอง...
เขาใหญ่ – ฟาร์มโชคชัย – วัดพระพุทธฉาย – กรุงเทพฯ
07.00น. บริการอาหารเช้า (บริการมื้อที่ 4) ...เรียบร้อยแล้วเก็บสัมภาระอำลาที่พัก นำท่านเดินทางสู่ “ฟาร์มโชคชัย”เชิญท่านชมวิธีการเลี้ยงโคนม การจัดการฟาร์มในพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 200 ไร่การผสมเทียมโคนม, การรีดนมวัวด้วยเครื่องและด้วยมือแบบดั้งเดิมพร้อมกับการเรียนรู้การรีดนมโคด้วยมือคุณเอง, นั่งรถฟาร์มแทร็กเตอร์ ชมการปลูกอาหารสัตว์การอาหาร หมัก, ทุ่งทานตะวัน ฯลฯ...
12.00น. บริการอาหารกลางวัน (บริการมื้อที่ 5) “ร้านข้าวสามสี” เรียบร้อยแล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ แวะซื้อกะหรี่พัฟ, หมูทุบ, ผลไม้ เป็นของฝากคนทางบ้านจากนั้นเดินทางต่อ นำทุกท่านนมัสการพระพุทธฉาย...เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนเดินกลับ
18.00น. ชาวคณะเดินทางถึงกรุงเทพฯโดยสวัสดิภาพ......


ราคาค่าบริการ รวมค่ารถตู้ปรับอากาศ Commuter 9 ที่นั่ง มีอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกครบครัน ค่าอาหารระหว่างเดินทาง 5 มื้อ ที่พัก วิลล่าพาราดีส์ 1 คืน (ห้องStandard )
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ของว่างระหว่างเดินทางบนรถ อัตราค่าบริการนี้ไม่รวม ค่าทิปพนักงานบริการ เช่น หัวหน้าทัวร์, มัคคุเทศก์, พนักงานขับรถ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักผ้า รีดผ้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มสั่งพิเศษ ค่าอาหารที่นอกเหนือจากทางบริษัทจัดให้

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

หมายถึง องค์ประกอบพื้นที่รองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบถือเป็นการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถไปด้วยดี และทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐานหลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
1. ระบบไฟฟ้า เพียงพอทั่วถึงและใช้การได้ดี
- ในการเกิดกรณีที่เกิดความต้องการใช้ปริมาณมากต้องเตรียมอุปกรณ์ปั่นไฟให้พอ
- ควรมีกำหนดเวลาเปิด-ปิดเพื่อประหยัดพลังงาน
- วางแผนใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2. ระบบประปา
- สะอาด ถูกหลักอนามัย
- มีปริมาณเพียงพอ
- มีการกระจายอย่างทั่วถึง เพื่อให้บริการความต้องการใช้น้ำที่แตกต่าง
- รีสอร์ทต้องใช้น้ำสำหรับใช้ 350 - 400 แกลอนต่อห้องต่อวัน
-สนามกอล์ฟ 6 แสน - 1 ล้านแกลอนต่อวัน
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
--> โทรศัพท์มีสาย/ไร้สาย ,โทรสาร, โทรเลข, ไปรษณีย์ และไปรษณีย์อิเลกโทรนิกส์
4. ระบบขนส่ง
ระบบเดินทางอากาศ บก และทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข
- ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย
- มีหน่วยรักษาพยาบาลเบื้องต้น
-แหล่งท่องเที่ยวเชิงพจญภัย เตรียมยาหรือรักษาอาการเจ็บรองรับ

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่ละภูมิภาค
-การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง
-มนุษย์มักต้องการเดินทางไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
-ส่งผลให้เกิดการเดินทางการท่องเที่ยวไปยังบริเวณจ่างบนผิวโลก
-ปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและพลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทาง

...ปัจจัย...
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ และสำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่ดึงดูดใจ
ลักษณะภูมิประเทศในส่วนต่างๆของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลักษณะภูมิอากาศ จะแตกต่างกันไปเพราะภูมิประเทศแตกต่างกัน
2. ปัจจัยวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่จนเครื่องแต่งกาย วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา

ตัวอย่างการวิจัย

ที่ใช้วิธีการศึกษาเป้าหมาย
นักเดินทางประเภท Backpacker กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในออสเตรเลีย แรงจูงใจ คือ
1. การหลีกหนี (Escape)
- สะท้อนแนวโน้มทางสังคมวิทยา
- หนุ่มสาวจากตะวันตกที่มีการศึกษาดีมักเลือกการตัดสินใจที่สำคัญในชีวิตชั่วคราว

2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
- นักท่องเที่ยวประเภทนี้มักเลือกที่พักศูนย์เยาวชน (Youth nostel) เป็นหลัก
- องค์การเยาวชนออสเตรเลียปรับปรุงภาพลักษณ์เพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

3. การทำงาน (Employment) ทำงานระหว่างเรียน (working holiday) และพัฒนาทักษะการทำงาน

4. เน้นการคบหาสมาคม (Social focus) นักแบกเป้ที่ชอบคบหาผู้คน ต้องการรู้จักเพื่อนและทำความรู้จักคนในท้องถิ่น
- แสดงว่าพวก backpacker ไม่ใช่พวกท่องเที่ยวแบบพเนจร

แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

โดย Pearce,Morrison และRutledge (ค.ศ.1998)
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มรดกโลก เป็นิ่งแวดล้อมสีน้ำเงิน (ทะเล) และสิ่งแวดล้อมสีเขียว (ป่า เขา น้ำตก)

2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น ความต้องการพบปะคนในท้องถิ่น อย่างใกล้ชิดมีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะนักเดินทางวัยหนุ่มสาว นักเดินทางประเภทสะพายเป้ (backpacker)

3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นแลประเทศเจ้าบ้าน การได้เห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเดินทางชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีนและชาวเกาหลี ซึ่งเมื่อก่อนไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับวัฒนธรรมต่างชาติ

4. แรงจูงใจที่จะส่งเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว การท่องเที่ยวบางรูปแบบสามารถเห็นได้ว่าช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว อาทิ แหล่งท่องเที่ยว theme park และที่พักประเภทรีสอร์ทสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นครอบครัว

5. แรงจูงใจที่ได้จากการพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย ชายทะเลที่มีหาดทรายกับแสงแดด การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การไปชมปะการังหรือเดินป่าดูนก เป็นต้น

6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ นักท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษกำลังมีมากขึ้น เช่น เดินทางไปเรียนภาษา ทำอาหาร ดำน้ำ ตกปลา ตีกอล์ฟ เป็นการท่องเที่ยวที่เพิ่มพูนทักษะ

7. แรงจูงใจที่มีสุขภาพดี การบำบัดในศูนย์สปาต่างๆ การเข้าคอร์สลดน้ำหนัก

8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย โรค ผู้ร้าย การก่อการร้ายนักท่องเที่ยวและ
ไม่ไปประเทศที่ไม่มีความสงบทางการเมือง

9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม ความสนใจในสถานภาพสังคมเป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งของแรงจูงใจมนุษย์ ประสบการณ์การท่องเที่ยวทางการท่องเที่ยวสามารถสร้างภาพพจน์ให้กับบุคคลได้

10. แรงจูงใจที่จะได้รัยรางวัลแก่ตนเอง การกิน การดื่ม การซื้อของเพื่อฉลองความสำเร็จหรือเพียงชดเชยกับสิ่งที่ขาดไปในโลกที่มีแต่งานและข้อจำกัดต่างๆ

2553-07-10

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546)

งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548
(พ.ศ.2091)

ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ
- แรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคคลิกของบุคคล
- แรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว/นักท่องท่องเที่ยวเป็นแนวคิดผสมระหว่างแนวคิดจิตวิทยา(Phychology) ผสมกับแนวคิดสังคมวิทยา(Sociology)

ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฎ๊ลำดับขั้นแห่งต้องการความจำเป็น (Hierrchy of need ของ Abrahalm Maslow)
- มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ
- มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็น
- ความต้องการไม่มีวันสิ้นสุด
- เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งถูกตอบสนองแล้ว จะมีกอีกอย่างหนึ่งแทนที่

ความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องความภาคภูมิใจ (Self - esteen)
- ความต้องการด้านอัตตา (Ggo needs)
- ต้องการคววามยอมรับจากสังคม

Lundbreg (Lundbrey,Tourism Businees ,pl27) เชื่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุด
- ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
- ต้องพัฒนาบุคคลิก
- กระทำสิ่งที่ท้าทาย สิ่งแปลกใหม่จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- ต้องการพบเห็นสิ่งแปลกใหม่ สถานที่ใหม่

การท่องเที่ยวสามารถตอบสนองความต้องการในระดับสูงสุดได้สำหรับคน
- การเล่น Jet boat การล่องแก่ง เดินทางทั้งประเทศ
- เล่นบันจี้จำ ฯลฯ

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)
Philip Peace ประยุกต์จากของ Maslow
- ต้องการความลึกซึ้ง ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
- ความต้องการในขั้นสรีวิทยาจะได้รับต้องการสนองความต้องการในระดับสูงถึงจะเกิด

3.แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton คล้ายกับของMaslow
- หลีกหนีสภาพแวดล้อมจำเจ
- สำรวจและประเมินตนเอง
- พักผ่อน
- ความต้องการเกีรติภูมิ
- ถอยกลับสู่สภาพดั้งเดิม
- หาญาติ

Swarbrooke
1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physcial)
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง(Emotional)
4. การท่องเที่ยวได้มาถึงสถานภาพ
5. แรงจูงใจพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล

วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสระเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น

สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า

ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา
มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศส ของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่2 ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ
- สมัยรัชกาลที่3 บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
- สมัยรัชกาลที่4 ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง
- สมัยรัชกาลที่5 ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
- สมัยรัชกาลที่6 มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- สมัยรัชกาลที่7 เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่8-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย

...รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522...