2553-08-26

การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)

เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้หลักการตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย

2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ

3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น

4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน องค์กรการท่องเที่ยวต่างๆ หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service Operations)

การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ หรือการขอรับสิทธิในการดำเนินธุรกิจเพราะประสบความสำเร็จในระดับสูงอยู่แล้ว เนื่องจาก
-มีประเภทของอาหารไม่มาก ทำให้เกิดอำนาจในการต่อรองในการซื้อวัตถุดิบและมีการสูญเสียน้อย การควบคุมทำได้ทั่วถึง
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
-ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานสูง เพราะมีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
-ภาชนะใส่อาหารมักเป็นแบบใช้ครั้งเดียว ลดภาระเรื่องการล้างทำความสะอาด
-มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี
สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้
อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
-อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast) ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
-อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast) ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ


อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า

อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)


อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้

อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุด
ต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)


อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

อาหารไทย (Thai Food)

ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา

4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ติดทะเล อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน มีอาหารหลายประเภทที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”
อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี แต่มีผักพื้นบ้านต่างๆ อาทิ ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงสัตว์ประเภทวัว ควาย ดังนั้นจึงนิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้น อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ

2553-08-21

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม

สามารถแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants) เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะแก่สภาพสังคมที่รีบเร่งของบุคคลในเมือง ร้านอาหารประเภทนี้จะเปิดบริการเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวันและเปิดทุกวันต่อสัปดาห์ และไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่ลูกค้า โดยจะต้องมีการรักษามาตราฐานราคาและคุณภาพ
2.ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shop) เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ปัจจุบันร้านอาหารประเภทที่นิยมมาก มักตั้งอยู่ที่ทำเลคนหนาแน่น
3.ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets) เป็นธุรกิจแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโยตรง ตั้งราคาเดียวแต่ไม่สูงมาก
4.ธุรกิจคอฟฟี่ช้อพ (Coffee shop) เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนมาใช้บริการโดยใช้เวลาน้อย ส่วนใหญ่บริการที่เคาน์เตอร์บริการ
5.ธูรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias) เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง รายการอาหารค่อนข้างจำกัดกว่า ภัตราคาร ควรตั้งอยู่ที่ทำเลที่มีคนจำนวนเดินผ่าน เช่นศูนย์การค้า ย่านสำนักงาน
6.ธุรกิจอาหารกรูเมต์ (Gourmet Restaurants) เป็นธุรกิจที่เน้นบริการระดับสูง ทั้งคุณภาพอาหาร การให้บริการของพนักงาน และการตกแต่งสถานที่อย่างหรูหรา
7.ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurabts) เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารและเเครื่องดิ่มประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ มักจัดอยู่ในกลุ่มของครอบครัว

ตัวแทนการจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจต้าปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนการขายสินค้าการท่องเที่ยวและช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

บทบาทหน้าที่ของเเทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2.ทำการจอง
3.รับชำระเงิน
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกคเนการวื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประเภทของของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่ทีมาแต่เดิม (A Conventional Agency) ประเภทนี้มักขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวหลากหลายและเต็มรูปแบบ สามารถแบ่งได้ดังนี้
- แทรเวล เอเจนซี่ที่ป็นเครือข่าย มีเครือข่ายขนาดใหย่ และมสาขามากกว่า 100สาขา
-แทรเวล เอเจนซี่แบบแฟรนไชส์ เป็นของบุคคลหรือครอบครัว แต่เข้าร่วมเครื่อข่ายแม่ที่มีชื่อเสียง โดยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทแม่เป็นรายปี
-แทรเวล เอเจนซี่อาจเกี่ยวข่องในลักษณะของ คอนซอเดียม คือ กลุ่มที่มีวัตถุปรสงค์ที่พัฒนากิจกรรมการตลาดและระบบอื่นๆ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยไม่ใช้ชื่อบริษัทแม่
-แทรเวล เอเจนซี่แบบอิสระ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทใด มักเป็นกิการของบุคคลหรือครอบครัว
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประกอบธุรกิจผ่านอินเตอร์เนต จุดเด่น คือ สามารถขยายไปทั่วโลก ไม่จำจักกลุ่ม
3.แบบชำนาญเฉพาะทาง (Spacialized Agencies) เป็นส่วนหนึ่งของของคอนเซเดียม พบว่าอาจทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น ตลาดนักธุรกิจ
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก (Home-Based Agencies) สามารถทำได้ผ่านอินเตอร์เนต
-บริษัททัวร์ (Tour Operator) หมายถึง รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า(และการชำระเงินล่วงหน้า) ซึ่งจะท่องเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งหรือมากกว่า

ประเภทของทัวร์
1.ทัวร์แบบอิสระ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการเดินทางอย่างอิสระ และเสียค่าใช้ตายที่ต่ำกว่าการจองผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวโดยตรง
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์เหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง

แผนกงานในโรงแรม

-แผนกส่วนหน้า (front office) เป็นศูนย์กลางติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก รับจองห้อง ต้อนรับ ลงทะเบียน ขนย้ายสัมภาระ และชำระค่าใช้จ่าย
-แผนกส่วนบ้าน (housekeeping) รับผิดชอบการจัดเตรียมห้อมพักแขก
-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม (food & beverage) รับผิดชอบกระบวนการผลิต/ประกอบ/ปรุงอาหาร และบริการเครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงการจัดเลี้ยง
-แผนกขายและการตลาด (sales & marketing) รับผิดชอบการวางแผนการตลาด และควบคุมการใช้กลุยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ธุรกิจ
-แผนการบัญชีและการเงิน (accounting) ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
-แผนกทรัพยากรณ์มนุษย์ (human resources) ในบางกิจการขนาดเล็กจะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก
-single ห้องพักสำหรับคนเดียว
-Twin ห้องพักเตียงคู่เเฝด
-Double ห้องพักเตียงคู่เตียงเดียวขนาดใหญ่ ให้บริการเเก่ผู้มาเยือนให้สบายยิ่งขึ้น
-Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้อง 2 ห้อง ขึ้นไป แบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น

2553-08-20

ที่พักแรม

ที่พักแรมมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถเดินทางกลับได้ในวันเดียว
โรงแรม : เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
กิจการโฮเต็ลที่สำคัญในอดีต ได้แก่
-โอเรียลเต็ล (Oriental Hotel) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันจัดเป็นโรงแรมมาตราฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

-โฮเต็ลพยาไท เป็นโรงแรมหรูหราในรัชกาลที่7 เป็นที่รับรองแขกเมืองชาวต่างชาติ ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมให้งดงาม ขึ้นเป็นทะเบียนโบราณสถานที่สำคัญ
-โฮเต็ลหัวหิน หรือ รงแรมรถไฟหัวหิน ในสมัยรัชกาลที่ 6 จัดเป็นโรงแรมตากอากาศชายทะเล
-โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 8

การใช้คำว่าโรงแรม เรียกกิจกรรมที่พักคนเดินทางแทนคำว่า โฮเต็ล มีครั้งแรกในพ.ศ. 5478 พร้อมกับออกพระราชบัญญัติโรงแรมฉบับแรกขึ้น

ประเภทที่พัก
1. โรงแรม หมายถึง สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถึประสงคืในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วตราวสำหรับนักเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
เกณฑ์การจำแนกโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง ทำเลที่ตั้งกิจกรรมมีผลต่อวิธีการเดินทางเข้าถึงและถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ
-ด้านขนาด โดยพิจารณาถึงจำนวนห้องพัก
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก โดยพิจารณาจากจุดประสงค์ผู้มาพัก อันจะส่งผลต่อกิจกรรมนันทนาการ
-ด้านราคา พิจารณาจากราคาห้องพักโดยเปรียบเทียบกิจการเฉลี่ยของกิจกรรมภายในพื้นที่/ประเทศ
-ด้านระดับการท่องเที่ยว พิจารณาจากความครบครันในการบริการ ความหรูหราในการบริการ
ความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
-โรงแรมอิสระ เป็นดรงแรมที่เจ้าของดำเนินกิจการเอง ตามนโยบายยบายที่กำหนดอิสระ กิจการส่วนใหญ่มีขนาดเล็ดและขนดกลาง
-โรงแรมจัดแบบกลุ่ม/ เครือ หรือ เชน หมายถึงโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารการจัดการแบบกลุ่ม มักใช้ชื่อประกอบที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน โดยมีสำนักงานกลางควบคุมนโยบาย

2. ที่พักนักท่องเที่ยว
-ที่พักเยาวชน หรือ โฮเต็ล เป็นที่พักราคาประหยัดมักสงเสริมเยาวชนให้รู้จักการเดินท่องเที่ยว
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด ได้แก่ บีเเอนด์บี เพเนชั่น ส่วนใหญ่เป็นบ้านแบ่งให้เช่าพักในต่างประเทศ
-ที่พักริมทางหลวง ได้แก่ โมต็ล เป็นที่พักขนาดเล็ก
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก หรือไทม์แชริ่ง ที่พักบริการคล้ายโรงแรม อยู่ในกลุ่มที่พักตากอากาศ
-เกสต์เฮาส์ ที่พักราคาประหยัด ดัดแปลงมาจากบ้านเดิม
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพารต์เมนต์ บริการสำหรับห้องชุดระยะยาว
-ที่พักกลางแจ้ง เป็นที่พักที่ประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก
-โฮมสเตย์ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท

การขนส่งคมนาคม (Tranporations)

คือ กระบวนการการเคลื่อนย้ายของคน สัตว์ สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปที่หนึ่งโดยอาสัยสื่อกลางต่างๆภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้

เส้นทาง(Way) ปัจจัยพื้นฐานรองรับพานหนะในการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งแบ่งเป็น ทางธรรมชาติเกิดขึ้นเอง ทางธรรมชาติที่ได้รับการปรับปรุง ทางที่มนุษย์สร้างเอง

สถานี (Termainal) สถานที่ให้บริการด้านพาหนะต่างๆตามความต้องการเฉพาะด้าน

ประเภทของการคมนาคม
-ทางบก ระยะแรกใช้แรงงานคน ต่อมาใช้สัตว์ลากรถ 2 ล้อต่อมาพัฒนาเป็นรถลาก4 ล้อใช้ม้าลากพร้อมๆกับการพัฒนาเส้นทาง จนกระทั่งในปีค.ศ.1480 มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสารในประเทศอังกฤษ
มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำในการขนส่ง ครั้งแรกในประเทสอังกฤษค.ศ.1825
ประดิษย์รถยนต์ในค.ศ.1920
..การขนส่งทางบกในประเทศไทย มีเกวียนเป็นอุปกรณ์ขนส่ง..

-ทางน้ำ ถือว่าเก่าแก่ที่สุด
เริ่มจากแพ เรือขุด เรือหนังสัตว์ สำเภาที่อยู่อาศัย และมีเครื่องจักรไอน้ำมีขนส่งแรกในประเทสอังกฤษ
ค.ศ.1815 บริการเรือสำราญ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมนประเทศอิตาลี
ค.ศ.1819 มีเรือกลไฟ Savanah แล่นในมหาสมุทรเป็นครั้งแรกค.ศ.1900 มีเรือสำราญสมบูรณ์แบบ ชื่อ Princess Victory Louis หลังสงครามโลกครั้งที่1 เศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจเรือสำราญกระทบกระเทือนมากในเอเชีย
..ในประเทศไทยใช้เรือเล็กส่งสินค้าในระยะใกล้ๆ และพัฒนาเป็นเรือสำเภาแบบจีนและยุโรป..

-ทางอากาศ
ประดิษฐ์เครื่องบินครั้งแรก ค.ศ.1903 โดยพี่น้องตระกูล Wright ในสงครามโลกครั้งที่2 เกิดธุรกิจการบินครั้งแรก