2553-09-11

แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)
การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
- การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
- การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
- การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน



รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค


ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
- ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
- รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
- การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
- ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)


ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน


การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)
เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน
การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ
การปศุสัตว์


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ


รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ



เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น


- คือการที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
- ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย



ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ เช่น
www.airasia.com

องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
World Tourism Organization : WTO
จุดมุ่งหมายเพื่อ
-เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
- เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
- เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)
โดยสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) มีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่ติดกับสวนจตุจักร ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) ก่อตั้งขึ้นในค.ศ.1960 ที่กรุงปารีส
องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”


องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน

World Travel and Tourism Council : WTCC สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงานหลัก 3 ด้าน ดังนี้
1.การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3. การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม


International Congress and Convention Association: ICCA สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ

สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน The Pacific Asia Travel Association :PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
ASEAN Tourism Association : ASEANTA
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน

เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ และความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว

3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง

American Society of Travel Agents:
ASTA สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา

เป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรวบรวมสมาชิกต่างๆทุกสาขาไว้ด้วยกัน
สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิก ASTA เมื่อปี พ.ศ.2509


สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ

กฎหมายสำคัญของไทย ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก

พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -บำรุงรักษาศิลปะ

2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ


3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ยกตัวอย่าง อาทิ
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว ยกตัวอย่าง เช่น
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
- ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
- ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
- ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
- ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
- ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
- ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
- ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses) ราคาที่ดินแพงขึ้น
- มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
- รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

- เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
- ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
- ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
- มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
- คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
- ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
- โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
- การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
- ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
- การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
- เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
- มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
- ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
- คุณค่าของงานศิลปะลดลง
- วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
- ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
- เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
- มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
- เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
- เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
- พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
- การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
- การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
- ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก Shopping and Souvenir Business

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว

ความเป็นมา

การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป

สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า


ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก

ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน

ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น


ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
1. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว
2.กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
3.ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
4.ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก

ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก

- เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
- เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
- เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
- เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
- เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
- เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
- เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
- เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย
- แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง
- แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ
- แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
1. ทางสังคมและวัฒนธรรม
สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และการรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น
2.ทางเศรษฐกิจ
สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
3.ทางระบบการท่องเที่ยว
ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business) หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
1. ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
- สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
2.ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
3.ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
- ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
- ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

วัดเล่งเน่ยยี่2 บางบัวทอง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์


วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ ตั้งอยู่ ตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก มีพื้นที่ 2 ไร่เศษที่ชาวบ้านบางบัวทองให้ความศรัทธามาเนิ่นนาน ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกาย มีปณิธานจะพัฒนาที่ส่วนนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะสร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเถลิงถวัลย์ ครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

ปัจจุบันวัดบรมราชากาญจนาภิเษกฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่โดยคณะสงฆ์จีนนิกายได้มอบหมายให้พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้างและพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย- จีนร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ทางวัดมังกรกมลาวาสได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกสมเด็จองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัด และพระราชทาน นามว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์” ซึ่งมี คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต อันนำมาซึ่งความปีติยินดีของชนชาวไทยเชื้อสายจีน และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์การสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ
1. เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
แสดงความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระมหาบูรพกษัตริย์ไทยที่คณะสงฆ์จีนนิกายได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
2. เพื่อตั้งเป็นพุทธสถานให้พุทธศาสนิกชน ได้ปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรม พร้อมทั้งเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจีนนิกาย
3. เพื่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ไทย-จีน เป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร และสร้างศาสนทายาทของพระพุทธศาสนาสืบไป
ภายในวัดมีการตกแต่งด้วยสภาปัตยกรรมที่สวยงาม เนื่องจากวัดเล่งเน่ยยี่2 เป็นวัดขก่าแก่ของจีน ซึ่งหากเดินทางไป ก็ไม่ผิดหวังแน่นอน
เพราะนอกจากจะได้ชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมแล้ว ยังได้ไหว้พระเจ้าแม่กวนอิม และทำบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย

ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดบรมราชาฯ
- สร้างแบบศิลปะจีนล้วนๆ เป็นพุทธศิลป์ในราชวงศ์หมิงชิง
- มีการวางผังตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน เรียกว่า ซี่เตี่ยมกิม
- การจัดวางวิหารถือตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลกบาลเป็นวิหารแรกพระอุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ส่วนวิหารอื่นๆ อยู่ประกอบสมดุลซ้ายขวา

โลโก้จำลองวัดเล่งเน่ยยี่ 2

ภายในวัด

การเดินทาง
จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำเภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร


จากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถเลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ วัดอยู่ถัดจากศูนย์เยาวชนเทศบาล



การท่องเที่ยวแบบนี้เป็นเชิงศาสนา....

2553-09-07

สามชุก ตลาดร้อยปี

เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์”
ประวัติ"ตลาดร้อยปีสามชุก"
เดิมทีเดียว "บริเวณปัจจุบัน" เรียกว่า ท่ายาง ซึ่งที่ตั้งอำเภอเก่าอยู่ที่ นางบวช

(ปัจจุบัน ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช)
- พ.ศ.2437 สมัยรัชกาลที่ 5 ชื่ออำเภอนางบวช โดยมีขุนพรมสภา นายอำเภอคนแรก
- พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 ย้ายอำเภอมาที่บ้าน สำเพ็ง สมัยนั้นเป็นย่านการค้าสำคัญ โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่า บ้านท่ายาง เป็นสถานที่ที่นำของป่ามาค้าขาย กันทุกทิศทุกทาง คล้ายเป็นทาง "สามแพร่ง" ต่อๆ มาเพี้ยนมาเป็น "สำเพ็ง"
- พ.ศ.2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอนางบวช มาเป็น"อำเภอสามชุก" เพราะเดิมชื่อ "สำเพ็ง" และเพี้ยนมาเป็น "สามชุก" ในที่สุด ก็เพราะว่า คนที่มาค้าขายระหว่างรอสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกัน มีเวลาว่างก็นำไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย ที่เรียกว่า "กระชุก" ต่อๆ มาชาวบ้านจึงเรียก "สามแพร่ง" ผสมกับ "กระชุก" จึงได้มาเป็น "สามชุก" อย่างทุกวันนี้


การเดินทาง
พวกเราเดินทางโดยรสตู้ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อไปถึงเราก็เริ่มตระเวนหาของกิน และถ่ายรูปเพื่อทำรายงาน ที่ตลาดมีของกินเยอะแยะมากมาย ส่วนมากจะเป็นขนมไทย ๆ ซึ่งหากินได้ยาก และเป็นของที่ระลึกซึ่งมีราคาถูก ส่วนของเล่นก็จะมีจำพวกของเก่าน่าสะสม ซึ่งหาซื้อยากในปัจจุบัน
ร้านแรกที่ไป เป็นร้านคุณไก่ ขายห่อหมกหม้อดิน รสชาติอร่อยมาก และมีขายที่ตลาดสามชุกที่เดียวเท่านั้น หากสนใจสามารถแวะไปชิมได้
ร้านที่สอง เป็นร้านน้ำพริกแม่กิมลั้ง หลายคนคงรู้จักเพราะมีชื่อเสียงมาก สินค้ามีคุณภาพ แถมราคาย่อมเยา
ร้านที่สามเป็นร้านขนมโบราณ แต่เจ้าของร้านนำมาแปลรูปด้วยการทำเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและดึงดูดให้เลือกซื้อ
เดินต่อมาเรื่อย ๆจะเป็นร้านขายของเล่นโบราณ ที่ทำขึ้นเอง เป็นของเล่นของเด็กสมัยก่อน ซึ่งหายากในสมัยนี้ ของเล่นจำพวกประทัด ซึ่งประดิษจากวัสดุธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณ และปลอดภัย100%
เดินต่อไปเรื่อย ๆ จะเป็นศาลเจ้าของชาวบ้านในละแวกนั้น
ยิ่งเดินต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะมีร้านขายของต่าง ๆมากมายให้เลือกซื้อ อาทิเช่น
ร้านขายขนมโบราณ ไม้แกะสลักเป็นรูปสัดว์ต่าง ๆ ตะเกียงโบราณ ราคาถูก ร้านบ้านโค้ก บริการทั้งส่งโปรการ์ด และขายของที่ระลึกร้านกาแฟอาม่า

ของที่ระลึก ก่อนกลับเราก็ไม่ลืมที่จะซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือไปฝากญาติ ๆ

เสื้อยืดสามชุก โปสการ์ด + บริการส่งทั่วประเทศ

กล่องไม้ขีด
ที่ติดรูป สัญลักษณ์สามชุก

แนะนำเส้นทางสู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก โทร. 0-3557-2449, 0-3550-4498 และ 0-1640-3327
สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ เป็นการเดินทางที่ได้ทั้งความรู้ที่เป็นของคนรุ่นก่อน และได้ชมของหายากซึ่งหาไม่ได้ตามท้องตลาดทั่วไป ถือว่าสนุกและคุ้มสุด ๆ พวกเราจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อน ๆทำคนไปเที่ยวตลาดสามชุก เพราะมีอะไรให้น่าค้นหามากมาย และที่สำคัญช่วยกันเที่ยวในประเทศเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น (:

2553-09-06

พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์"




พระราชวังสนามจันทร์ ในช่วงเช้า





พระตำหนักทับขวัญ




พระที่นั่งชาลีมงคลอาจ




อนุสาวรีย์ ย่าเหล



ถ่ายหน้าพระราชวังสนามจันทร์


แผนที่และการเดินทาง


1.รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 ถึง จ.นครปฐม แยกขวาเข้าพระราชวัง
2.โดยสารสาธารณะ - จากสายใต้ใหม่ นั่งรถปรับอากาศไปดำเนินสะดวกชั้น 2 (ป2) (สาย 78 รถน้ำเงินคาดส้ม) ซึ่งเป็นรถที่วิ่งผ่านพระราชวังสนามจันทร์ลงแยกสนามจันทร์ ค่ารถ 36 บาทครับ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง- อีกวิธีขึ้นรถตู้ไปทับแก้ว(ม.ศิลปากร สนามจันทร์)จากปิ่นเกล้า คิวรถตู้จอดอยู่ในซอยข้างศาลพระพรหมณ์ตรงใกล้์้เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เดินเข้าไปในซอย ข้ามสะพานข้ามคลอง มองไปด้านซ้ายมือจะมีคิวรถตู้ ค่ารถ 40 บาท บอกคนขับว่าลงแยกสนามจันทร์และจากแยกสนามจันทร์ก็ข้ามฝากไป ม.ศิลปากร เดินตรงเข้าถนนราชมรรคาใน สัก 200 เมตร ก็ถึงจุดขายตั๋วเข้าชม- ขากลับขึ้นรถดำเนินป.2(สาย78) ได้ที่แยกสนามจันทร์กลับเข้ากทมได้เลย(ไม่ต้องข้ามถนน) หรือเดินขึ้นไปอีกนิดไปทางด้านประตูใหญ่ ม.ศิลปากร คิวรถตู้ไปปิ่นเกล้าจอดอยู่ตรงก่อนถึงป้ายรถเมล์หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนั้นยังมีอีกคิวไปอนุสาวรีชัย-หมอชิด อยู่ฝั่งตรงข้าม มหาวิทยาลัย